วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์

โรคอ้วน

    ความอ้วน  หมายถึง สภาพร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยการสะสมของไขมันจนมีปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกาย
    สาเหตุ
    1. เกิดจากสาเหตุภายนอก เป็นสาเหตุใหญ่ที่เกิดโรคอ้วน เพราะตามใจปากมากเกินไป กินมากเกินความต้องการของร่างกาย อาหารที่กิน เนื้อ ไขมัน หรือแป้ง ของหวาน สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ถ้ามีมากเกินไปก็จะกลายเป็นไขมันพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ออกกำลังกายน้อย กินแล้วนอนนิสัยในการรับประทาน คนที่มีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี เรียกว่า กินจุบกินจิบไม่เป็นเวลา  ขาดการออกกำลังกาย ถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ได้ออกกำลังกายบ้างก็อาจทำให้อ้วนช้าลง แต่หลายคนไม่ได้ยืดเส้นยืดสาย ไม่ช้าจะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกาย 2. มาจากสาเหตุภายใน พบได้จากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อไทรอยด์ ทำให้มีไขมันตามบริเวณต้นแขน ต้นขา และหน้าท้อง      •   จิตใจและอารมณ์ มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่การกินอาหารขึ้นอยู่กับจิตใจและอารมณ์ เช่น กินดับความโกรธ ดับความคับแค้นใจ กลุ้มใจ กังวลใจ หรือดีใจ บุคคลเหล่านี้ จะรู้สึกว่าอาหารที่ทำให้จิตใจสงบ จึงหันมายึดเอาอาหารไว้เป็นที่พึ่งทางใจ ตรงกันขามกับบางคนกลุ้มใจเสียใจก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ •   ความ ไม่สมดุลระหว่างความรู้สึกอิ่มกับความหิว เมื่อใดที่ความอยากเพิ่มขึ้น เมื่อนั้นการกินก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้นเรียกว่า กินจุ ในที่สุดก็อ้วนเอาๆ 3.  เพราะกรรมพันธุ์ ซึ่งพบได้น้อย กรรมพันธุ์นี้พิสูจน์ไม่ได้ แต่ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคน ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 40 4. โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง 5. จากการกินยาบางชนิด ก็ส่งผลกระทบให้อ้วน ผู้ป่วยบางโรคได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือกินยาคุมกำเนิดก็ทำให้อ้วนง่ายเช่นกัน 6. เพศ  เพศหญิงนั้นมักอ้วนกว่าเพศชาย ก็ธรรมชาติเธอมักสรรหาจะกิน กิน และกิน ตลอดเวลา อีกทั้งตอนตั้งครรภ์ ก็ต้องกินมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและลูกน้อยในครรภ์ แต่หลังจากคลอดลูกแล้ว บางรายก็ลดน้ำหนักลงมาได้ แต่บางรายก็ลดไม่ได้ ผู้หญิงทำงานน้อย ออกกำลังน้อยกว่าชาย ผู้หญิงอ้วนมากกว่าผู้ชาย 4 : 1 การลดความอ้วนที่ถูกวิธี             การลดความอ้วนก็คล้ายกับการปฏิบัติในการรักษาโรคอื่นๆ เพราะในการลดความอ้วนนั้นต้องอาศัยหลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งกำลังใจและเวลา การปฏิบัติทั่วๆไปในการลดน้ำหนัก คือ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย


ภูมิปัญญาไทยกับแพทย์แผนไทย



ภูมิปัญญาไทย ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย



ลักษณะภูมิปัญญาไทย

  1. 1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ 
    3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคลชุมชน และสังคม 
    5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ 
    6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

    7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม




ภูมิปัญญาไทยด้านแพทย์แผนไทย


การแพทย์แผนไทยและเภสัชกรรม เป็นภูมิปัญญาตั้งแต่สมัยโบราณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บมักจะรักษาโดยใช้สมุนไพรแพทย์แผนไทยได้ถ่ายทอดภูมิปัญญา เช่น จารึกสรรพคุณยาและวิธีรักษาเป็นตำรายาของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสมุนไพรต่างๆที่นำมาเป็นยานี้ ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่นอกจากการรักษาด้วยสมุนไพรแล้ว และยังมีการรักษาด้วยวิธีการนวด การประคบ การรักษาโรคด้วยวิธีนี้ทำให้โลหิตไหลเวียนสะดวกขึ้นเป็นการปรับสภาพร่างกายให้เกิดความสมดุลและยังทำให้ร่างกายรู้สึกสบายตัวสบายตัวมากขึ้น ไม่ทรมานต่อความเจ็บปวดเมื่อยร่างกายที่แสนจะยากลำบากในการเคลื่อนไหวของร่างกายของเราที่เกิดจากการเวลาเราเคลื่อนไหวรวดเร็วเกินไปจนทำให้ร่างกาย กระคูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น อาจจะเคลื่อนเข้าที่ผิดจากที่เดิมหรือหักหรือขาดไปได้ ซึ่งในโบราณเราใช้การนวด การเหยียบ การบีบ และการประคบสมุนไพร จนเป็นที่มาของภูมิปัญญาไทยในด้านแพทย์แผนไทย 

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนและสังคม

โครงการเต้นแอโรบิคและจัดหากิจกรรมเพื่อสุขภาพชุมชน


หลักการและเหตุผล
  การเต้นแอโรบิคเพื่อนเสริมสุขภาพให้แก่ชุมชนทุกคนในช่วงอายุวัยใดใดก็ตามสามารถออกมาสร้างเสริมดูแลสุขภาพกันได้ไม่ว่าจะเป็นเ็กผูใหญ่หรือคนแก่ในวัยต่างๆและการจัดหากิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพคืออาจจะเป็นอาหารหรือวิธีการดูแลสุขภาพได้เรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพอย่างแท้จริงและอย่างถูกวิธี


วัตถุประสงค์


1.เพื่อให้คนในชุมชนไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุอะไรได้ออกมาออกกำลังกายดูแลสุขภาพ
2.เป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่งซึ่งให้มุกคนได้ออกมารู้จักพบปะพูดคุยกัน
3.กิจกรรมดูแลสุขภาพเช่นอาหารให้คนในชุมชนได้รู้อย่างแท้จริงว่าเราอยู่ในช่วงอายุวัยใดควรเลือกทานอาหารประเภทใดให้เหมาะสมกับตัวเอง
4.กิจกรรมดูแลสุขภาพเช่นหากมีผู้สูงอายุเป็นโรคใดก็สามารถมาแบ่งปันความรู้และช่วยกันแก้ปัญหาหากไม่ร้ายแรงถึงกับต้องได้รับการดูแลจากโรงพยาบาล


กลุ่มเป้าหมาย


1.กลุ่มวัยรุ้น
2.ผู้สูงอายุ
3.เด็กที่อยากออกกำลังกายนอกจากการวิ่งเล่น


วิธีดำเนินการ
1.ให้ใช้พื้นที่ว่างในหมู่บ้านเช่นสวนสาธารณะให้เป็นเวทีในการนำเต้นโดยจะมีครูสอนเต้นมานำในช่วงเย็นๆของแต่ละวันในเวลา 17.00-19.00
2.มีกิจกรรมทำร่วมกันคือนอกจากการเต้นแล้วก็ยังมีอาหารดูแลสุขภาพมาตั้งขาย



ระยะการดำเนินการ
28ก.ค.-28ส.ค.

สถานที่ดำเนินการ


สวนสาธารณะในหมู่บ้าน


งบประมาณ
20,000- บาท


ค่าจ้างครูสอนเต้นแอโรบิคเดือนละ 5000 บาท
ค่าจัดสถานที่ 3000 บาท
ค่าจัดร้านค้าขายอาหารเพื่อสุขภาพ 3000 บาท
ค่าจัดสถานที่ให้คนในหมู่บ้านได้นั่งคุยพบปะ 3000 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ให้ผู้คนในหมู่บ้านได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
2ให้คนในหมู่บ้านได้ประหยัดเงินจากบางคนที่ต้องออกไปฟิตเนสตามสถานที่ต่างๆ
3ให้คนในหมู่บ้านได้มีอีกสังคมอีกสังคมหนึ่งได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาวปวีณา จิรดิลกพร



วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของลีลาศ


ประวัติความเป็นมาของลีลาศ
การเต้นรำพื้นเมืองในฉบับที่เรียกว่า “ลีลาศ” นี้มีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเต้นรำพื้นเมือง (Folk Dance) และการเต้นบัลเลย์ (Ballet) เป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะแบ่งประวัติความเป็นมาหรือพัฒนาการของลีลาศออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยเก่าและสมัยใหม่

สมัยเก่า
ความต้องการการเต้นรำเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณของมนุษย์ ถึงกับมีการกล่าวคำว่า “การเต้นรำนั้นเก่าแก่และมีมาก่อนสิ่งอื่นใด ยกเว้นการดื่มกินและความรัก” เป็นความจริงที่ว่า “อารมณ์” เป็น ตัวกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น และความต้องการอันเป็นสัญชาตญาณอันเก่าแก่นี้ก็ยังคงมีอยู่ตลอดมาไม่เปลี่ยน แปลง แม้ว่าอารยธรรม ความเจริญ และสภาพแวดล้อมต่างๆจะสอนให้มนุษย์รู้จักระงับอารมณ์ความต้องการตามธรรมชาติก็ตาม ประกอบกับการเกิดจังหวะดนตรีต่างๆ ที่ได้นำมาผสมผสานเข้ากับการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว การเต้นรำจึงได้เกิดขึ้น แล้วจึงอาจสรุปได้ว่า อารมณ์และจังหวะดนตรีทำให้เกิดการเต้นรำขึ้น
การเต้นรำที่มีรูปแบบที่แน่นอนเกิดขึ้นในช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ก่อตั้งราชบัณฑิตสภาการดนตรีและการเต้นรำขึ้น (Acadmie Royale de Musique et de Danse) โดยบรรดาสมาชิกราชบัณฑิตยสภาฯ ได้กำหนดตำแหน่งการวางเท้าทั้ง 5 ก้าวในการเต้นรำแบบ “แซงปาส” ใน ขณะเดียวกันได้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการเต้นรำทุกประเภทขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงเวลานี้เป็นช่วงความรุ่งเรือของการเต้นรำแบบมินูเอและกาวอตเต้ มินูเอซึ่งแต่เดิมเป็นการเต้นรำพื้นเมืองของชาวปัวตูได้เข้ามาในปารีสในปี ค.ศ. 1650 และต่อมาได้มีการใส่ทำนองดนตรีโดย หลุยส์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงนำเข้ามาใช้เต้นรำในที่สาธารณชน จึงอาจกล่าวได้ว่าได้มีการควบคุมการเต้นรำแบบบอลรูมตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18

สมัยใหม่
การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่ คือ การจับมือและโอบเอวคู่เต้นรำ (Modern Hold) มาใช้กับการเต้นรำจังหวะวอลซ์ (Waltz) ซึ่งในขณะนั้นถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครอง แต่ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลซ์ที่อัลแมค ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่เกียรติยศชั้นสูง

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1960 ได้มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยพวกอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์ (Twist) และจังหวะฮัสเซิ่ล (Hustle) ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลกและต่อมาในปี ค.ศ. 1970 เกิดจังหวะการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco Dancing) ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก และยังมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแดนซ์ (Flash Dance) , เบรกแดนซ์ (Break Dance) และแรพ (Rap) เป็นต้น ซึ่งมักมีการกำเนิดจากพวกอเมริกัน
นิโกร นอกจากนั้นยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าการบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่ เรียกว่า แอโรบิกแดนซ์ (Aerobic Dance) ซึ่งยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้ การเต้นรำในแบบและจังหวะต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ในประเภทของการลีลาศ


ประวัติการลีลาศของประเทศไทย

ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของ
แหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่าคนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตามบันทึกกล่าวว่าแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูกแล้ว พระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง

ปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2540
ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ(สาธิต)ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬา
เอเชียนเกม ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ.ศ.2541

 ความหมายของลีลาศ 

       คำว่า “ลีลาศ” หรือ “เต้นรำ” มีความหมายเหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525ได้ให้ความหมายดังนี้
         ลีลาศ เป็นนามแปลว่า ท่าทางอันงดงาม การเยื้องกราย เป็นกิริยาแปลว่า เยื้องกราย
เดินนวยนาด
         เต้นรำ เป็นกิริยาแปลว่า เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง


       คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า  “ เต้นรำ ”  มานานแล้ว  คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Ballroom  Dancing” หมายถึง การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว  โดยมีระเบียบของการชุมนุม ณ สถานที่อันจัดไว้ในสังคมใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู  นอกจากนี้ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า“Social  Dance” ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า Ballroom  Dancing แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
คำว่า Social Dance หมายถึง การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกันและได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน  จึงกล่าวได้ว่า Ballroom  Dancing เป็นส่วนหนึ่งของ Social  Dance (ธงชัย  เจริญทรัพย์มณี. 2538 : 1)
      อาจสรุปได้ว่า  “ลีลาศ” คือกิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่วๆไป

ร่างกายของเรา

1 กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
อวัยวะทุกส่วนในร่ายกานมีความสำคัญและทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบหากส่วนใดส่วนหนึ่งผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆไปด้วยเราจึงต้องบำรุงรักษอวัยวะทุกส่วนในร่างกายให้สมบูรณ์และแข็งแรง
1.1ความสำคัญ  และหลักของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานระบบต่างๆในร่างกาย
ระบบต่างๆในร่างกายจะต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดดราจึงต้องดูแลและรักษาระบบต่างๆในร่างกายเอาไว้ให้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น –ต้องรักษาอนามัยส่วงนบุคคล , บริโภคอาหารให้ถูกต้องและครบ5หมู่ , ออกกำลังกายสม่ำเสมอ , พักผ่อนให้เพียงพอ , ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ , หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งที่เสพให้ติด , ตรวจเช็คร่างกาย และเราต้องดูและ ตาหูคอจมูกปากผิวหนังให้สมบูรณ์และทำงานได้ตามปกติ
1.2 ระบบประสาท
คือระบบที่ทำงานด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกายซึ่งจะทำงานร่วมกันในการควบคุมการทำงานและรับความรูสึกของอวุยวะทุกส่วนรวมถึงความนึกคิดอารมณ์และความทรงจำต่างๆ
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาทแบ่งเป็น2ส่วนใหญ่ๆคือ
1 ระบบประสาทส่วนกลาง – ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง สมองแบ่งออกเป็น3ส่วนคือ สมองส่วนหน้า , สมองส่วนกลาง  , สมองส่วนท้าย
2 ระบบประสาทส่วนปลาย
ประกอบด้วย 1 เส้นประสาทสมองมีอยู่12คู่  2เส้นประสาทไขสันหลังมีอยู่ 31คู่  3ประสาทระบบอัตโนมัติ
1.2.2  การทำงานของระบบประสาท
เป็นระบบที่ทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อนอกจากประสาทยังรับกระแสจากอวัยวะภายในต่างๆ

1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท
ต้องระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนศีรษะ , ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง , หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีโรคทางสมอง , พยายามผ่อนควายความเครียด , รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
1.3 ระบบสืบพันธุ์


1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย อัณฑะ , ถุงหุ้มอัณฑะ , หลอดเก็บตัวอสุจิ , หลอดนำตัวอสุจิ , ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ , ต่อมลูกหมาก , ต่อทคาวเปอร์
1.3.2 อวัยสะสืบพันธ์เพศหญิง ประกอบด้วย รังไข่,ท่อนำไข่,มดลูก,ช่องคลอด
1.3.3การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์ – เพื่อช่วยให้ชีวิตดำรงเผ่าพันธ์ไว้เราจึงควรบำรุงรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ให้สามารถทำงานได้ปกติดังนี้  ดูแลร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
, ออกกังกายสมำเสมอ , งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ , พักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดและทำให้จิตใจแจ่มใสอยู่เสมอ , ทำความสะอากร่าบกายอย่างทั่วถึงและสมำเสมออย่างน้อยวันละ2ครั้ง , สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดไม่อับชื้น และอย่ารัดให้แน่นจนเกินไป , ไม่ใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อบางชนิดได้ , ไม่สำส่อนทางเพศเพราะอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอดส์ , เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆเกี่ยวกับอวัยวะเพศควรรีบปรึกษาแพทย์
1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ
เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิดจึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ

1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย มีดังนี้ ต่อมใต้สมอง , ต่อมหมวกไต , ต่อมไทรอยด์ , ต่อมพาราไทรอยด์ , ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน , รังไข่ ในเพศหญิง อัณฑะ ในเพศชาย , ต่อมไทมัส

1.4.2 การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
เพื่อให้การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อทำงานประสานกับระบบประสาทดำเนินไปตามปกติเราจึงควรบำรุงรักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงดังนี้
1 เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง5หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่เกิดโทษกับร่างกายลดอาหารที่มีรสหวานจัดเพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานได้รับประทานอาหารทะเลหรือเกลือมีธาตุไอโอดีนเพื่อป้องกันโรคคอพอก
2 ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียวพอคือ 6-8 แกวต่อวันเพราะน้ำช่วยในกานผลิตฮอร์โมน
3 ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพราะการออกกำลังกายทำให้ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
4 ลดปริมาณแอลกอฮอล์ เพรามีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อบางต่อมทำให้ประสิทธิภาพลดลง
5 หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
6 พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกมากๆจะส่งผลให้ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี