วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของลีลาศ


ประวัติความเป็นมาของลีลาศ
การเต้นรำพื้นเมืองในฉบับที่เรียกว่า “ลีลาศ” นี้มีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเต้นรำพื้นเมือง (Folk Dance) และการเต้นบัลเลย์ (Ballet) เป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะแบ่งประวัติความเป็นมาหรือพัฒนาการของลีลาศออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยเก่าและสมัยใหม่

สมัยเก่า
ความต้องการการเต้นรำเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณของมนุษย์ ถึงกับมีการกล่าวคำว่า “การเต้นรำนั้นเก่าแก่และมีมาก่อนสิ่งอื่นใด ยกเว้นการดื่มกินและความรัก” เป็นความจริงที่ว่า “อารมณ์” เป็น ตัวกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น และความต้องการอันเป็นสัญชาตญาณอันเก่าแก่นี้ก็ยังคงมีอยู่ตลอดมาไม่เปลี่ยน แปลง แม้ว่าอารยธรรม ความเจริญ และสภาพแวดล้อมต่างๆจะสอนให้มนุษย์รู้จักระงับอารมณ์ความต้องการตามธรรมชาติก็ตาม ประกอบกับการเกิดจังหวะดนตรีต่างๆ ที่ได้นำมาผสมผสานเข้ากับการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว การเต้นรำจึงได้เกิดขึ้น แล้วจึงอาจสรุปได้ว่า อารมณ์และจังหวะดนตรีทำให้เกิดการเต้นรำขึ้น
การเต้นรำที่มีรูปแบบที่แน่นอนเกิดขึ้นในช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ก่อตั้งราชบัณฑิตสภาการดนตรีและการเต้นรำขึ้น (Acadmie Royale de Musique et de Danse) โดยบรรดาสมาชิกราชบัณฑิตยสภาฯ ได้กำหนดตำแหน่งการวางเท้าทั้ง 5 ก้าวในการเต้นรำแบบ “แซงปาส” ใน ขณะเดียวกันได้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการเต้นรำทุกประเภทขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงเวลานี้เป็นช่วงความรุ่งเรือของการเต้นรำแบบมินูเอและกาวอตเต้ มินูเอซึ่งแต่เดิมเป็นการเต้นรำพื้นเมืองของชาวปัวตูได้เข้ามาในปารีสในปี ค.ศ. 1650 และต่อมาได้มีการใส่ทำนองดนตรีโดย หลุยส์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงนำเข้ามาใช้เต้นรำในที่สาธารณชน จึงอาจกล่าวได้ว่าได้มีการควบคุมการเต้นรำแบบบอลรูมตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18

สมัยใหม่
การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่ คือ การจับมือและโอบเอวคู่เต้นรำ (Modern Hold) มาใช้กับการเต้นรำจังหวะวอลซ์ (Waltz) ซึ่งในขณะนั้นถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครอง แต่ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลซ์ที่อัลแมค ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่เกียรติยศชั้นสูง

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1960 ได้มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยพวกอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์ (Twist) และจังหวะฮัสเซิ่ล (Hustle) ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลกและต่อมาในปี ค.ศ. 1970 เกิดจังหวะการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco Dancing) ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก และยังมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแดนซ์ (Flash Dance) , เบรกแดนซ์ (Break Dance) และแรพ (Rap) เป็นต้น ซึ่งมักมีการกำเนิดจากพวกอเมริกัน
นิโกร นอกจากนั้นยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าการบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่ เรียกว่า แอโรบิกแดนซ์ (Aerobic Dance) ซึ่งยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้ การเต้นรำในแบบและจังหวะต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ในประเภทของการลีลาศ


ประวัติการลีลาศของประเทศไทย

ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของ
แหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่าคนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตามบันทึกกล่าวว่าแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูกแล้ว พระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง

ปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2540
ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ(สาธิต)ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬา
เอเชียนเกม ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ.ศ.2541

 ความหมายของลีลาศ 

       คำว่า “ลีลาศ” หรือ “เต้นรำ” มีความหมายเหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525ได้ให้ความหมายดังนี้
         ลีลาศ เป็นนามแปลว่า ท่าทางอันงดงาม การเยื้องกราย เป็นกิริยาแปลว่า เยื้องกราย
เดินนวยนาด
         เต้นรำ เป็นกิริยาแปลว่า เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง


       คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า  “ เต้นรำ ”  มานานแล้ว  คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Ballroom  Dancing” หมายถึง การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว  โดยมีระเบียบของการชุมนุม ณ สถานที่อันจัดไว้ในสังคมใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู  นอกจากนี้ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า“Social  Dance” ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า Ballroom  Dancing แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
คำว่า Social Dance หมายถึง การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกันและได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน  จึงกล่าวได้ว่า Ballroom  Dancing เป็นส่วนหนึ่งของ Social  Dance (ธงชัย  เจริญทรัพย์มณี. 2538 : 1)
      อาจสรุปได้ว่า  “ลีลาศ” คือกิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่วๆไป

ร่างกายของเรา

1 กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
อวัยวะทุกส่วนในร่ายกานมีความสำคัญและทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบหากส่วนใดส่วนหนึ่งผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆไปด้วยเราจึงต้องบำรุงรักษอวัยวะทุกส่วนในร่างกายให้สมบูรณ์และแข็งแรง
1.1ความสำคัญ  และหลักของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานระบบต่างๆในร่างกาย
ระบบต่างๆในร่างกายจะต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดดราจึงต้องดูแลและรักษาระบบต่างๆในร่างกายเอาไว้ให้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น –ต้องรักษาอนามัยส่วงนบุคคล , บริโภคอาหารให้ถูกต้องและครบ5หมู่ , ออกกำลังกายสม่ำเสมอ , พักผ่อนให้เพียงพอ , ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ , หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งที่เสพให้ติด , ตรวจเช็คร่างกาย และเราต้องดูและ ตาหูคอจมูกปากผิวหนังให้สมบูรณ์และทำงานได้ตามปกติ
1.2 ระบบประสาท
คือระบบที่ทำงานด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกายซึ่งจะทำงานร่วมกันในการควบคุมการทำงานและรับความรูสึกของอวุยวะทุกส่วนรวมถึงความนึกคิดอารมณ์และความทรงจำต่างๆ
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาทแบ่งเป็น2ส่วนใหญ่ๆคือ
1 ระบบประสาทส่วนกลาง – ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง สมองแบ่งออกเป็น3ส่วนคือ สมองส่วนหน้า , สมองส่วนกลาง  , สมองส่วนท้าย
2 ระบบประสาทส่วนปลาย
ประกอบด้วย 1 เส้นประสาทสมองมีอยู่12คู่  2เส้นประสาทไขสันหลังมีอยู่ 31คู่  3ประสาทระบบอัตโนมัติ
1.2.2  การทำงานของระบบประสาท
เป็นระบบที่ทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อนอกจากประสาทยังรับกระแสจากอวัยวะภายในต่างๆ

1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท
ต้องระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนศีรษะ , ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง , หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีโรคทางสมอง , พยายามผ่อนควายความเครียด , รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
1.3 ระบบสืบพันธุ์


1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย อัณฑะ , ถุงหุ้มอัณฑะ , หลอดเก็บตัวอสุจิ , หลอดนำตัวอสุจิ , ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ , ต่อมลูกหมาก , ต่อทคาวเปอร์
1.3.2 อวัยสะสืบพันธ์เพศหญิง ประกอบด้วย รังไข่,ท่อนำไข่,มดลูก,ช่องคลอด
1.3.3การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์ – เพื่อช่วยให้ชีวิตดำรงเผ่าพันธ์ไว้เราจึงควรบำรุงรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ให้สามารถทำงานได้ปกติดังนี้  ดูแลร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
, ออกกังกายสมำเสมอ , งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ , พักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดและทำให้จิตใจแจ่มใสอยู่เสมอ , ทำความสะอากร่าบกายอย่างทั่วถึงและสมำเสมออย่างน้อยวันละ2ครั้ง , สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดไม่อับชื้น และอย่ารัดให้แน่นจนเกินไป , ไม่ใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อบางชนิดได้ , ไม่สำส่อนทางเพศเพราะอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอดส์ , เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆเกี่ยวกับอวัยวะเพศควรรีบปรึกษาแพทย์
1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ
เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิดจึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ

1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย มีดังนี้ ต่อมใต้สมอง , ต่อมหมวกไต , ต่อมไทรอยด์ , ต่อมพาราไทรอยด์ , ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน , รังไข่ ในเพศหญิง อัณฑะ ในเพศชาย , ต่อมไทมัส

1.4.2 การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
เพื่อให้การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อทำงานประสานกับระบบประสาทดำเนินไปตามปกติเราจึงควรบำรุงรักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงดังนี้
1 เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง5หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่เกิดโทษกับร่างกายลดอาหารที่มีรสหวานจัดเพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานได้รับประทานอาหารทะเลหรือเกลือมีธาตุไอโอดีนเพื่อป้องกันโรคคอพอก
2 ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียวพอคือ 6-8 แกวต่อวันเพราะน้ำช่วยในกานผลิตฮอร์โมน
3 ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพราะการออกกำลังกายทำให้ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
4 ลดปริมาณแอลกอฮอล์ เพรามีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อบางต่อมทำให้ประสิทธิภาพลดลง
5 หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
6 พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกมากๆจะส่งผลให้ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี